วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2559

Recent Post 9
Creative Art Experiences Managemant For Early Childhood
17  March 2016


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

กิจกรรมการปั้นลูกชุบ

สูตรขนมหวานไทย : ลูกชุบ
     เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ถั่วเขียว 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
* น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* น้ำกะทิ 400 กรัม
* วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ
* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น)
* สีผสมอาหาร
  (อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน),
   จานสีและพู่กัน
* ไม้จิ้มฟัน
   (สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น)
* โฟม
  (สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง)



     
 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)

2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี

3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ (ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ) เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ ควรปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถั่วที่ปั้นเสร็จแล้วควรห่อไว้ด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ

5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง หรือตามแต่ความชอบ

6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า, ผงวุ้นและน้ำตาล ลงในหม้อ นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองที่ลอยหน้าออก จึงหรี่ไฟลง

7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้น ควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้ง ระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง ถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น

8. นำลูกชุบออกจากไม้ิจิ้มฟัน ตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกร จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆได้ทันที
skills (ทักษะที่ได้รับ)
    -ทักษะการความคิดสร้างสรรค์และงานศิปะ
    -ทักษะการร่วมมือปฏิบัติงาน

Adoption (การนำไปใช้)
   - ได้นำงานศิลปะลูกชุบไปใช้ในการสอนเด็กได้ต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
    Instructor Rating (ประเมินผู้สอน)   อธิบายถึงวิชางานศิลปะลูก                                                            ชุปได้อย่างได้อย่างเข้าใจ
    Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจปฏบัติกิจกรรมลูกชุบกันทุก                                                          คน
    Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เรียนรู้วิธีการทำลูกชุบได้อย่าง                                                              เข้าใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น