วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

วันพฤหัสที่ 21 มกราคม 2559

Recent Post 2
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Thursday 21 Janury 2016


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

ทำกิจกรรม ที่2  มือน้อยสร้างสรรค์

ทำกิจกรรม  ที่3  วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม



ทฤษฏีเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                       
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา
  - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
  - ความมีเหตุผล
  - การแก้ปัญหา
กิลฟอร์ด  อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3  มิติ คือ
 มิติที่ 1 เนื้อหา  มิติเกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิดสมอง รับข้อมูลเข้าไปคิดพิจารณา   4   ลักษณะ
ภาพ
สัญลักษณ์
 - ภาษา
 - พฤติกรรม
  มิติที่ 2 วิธีการคิด มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน   5  ลักษณะ
การรู้จัก การเข้าใจ
การจำ
การคิดแบบอเนกนัย  (คิดได้หลายรูปแบบ  หลากหลาย)
การคิดแบบเอกนัย  (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
การประเมินค่า
  มิติที่ 3  ผลของการคิด  มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง  จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2
มี  6  ลักษณะ
-  หน่วย
-  จำพวก
-  ความสัมพันธ์
-  ระบบ
-  การแปลงรูป
-  การประยุกต์
สรุป
- เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
- ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120  ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ  คือ มีเนื้อหา  4  มิติ วิธีการคิด  5  มิติ     และผลทางการคิด  6  มิติ  รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย   คือ วิธีการคิดอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล  ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
   นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง  ชาวอเมริกัน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย
ความคล่องแคล่วในการคิด
ความยืดหยุ่นในการคิด
ความริเริ่มในการคิด   
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
   - ขั้นการค้นพบความจริง  เป็นขั้นเริ่มต้น  ค้นหาสาเหตุ
   -ขั้นการค้นพบปัญหา  เป็นขั้นที่สามารถคิดได้ และเกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
   - ขั้นการตั้งสมมุติฐาน  เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน
    - ขั้นการค้นพบคำตอบ  เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐานด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย
    - ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้น ได้ผลเป็นอย่างไรสรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหา หรือทางออกที่ดีที่สุด

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  -เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
  -การทำงานของสมองสองซีก  ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย   ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล   ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี  และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ  11-13 ปี
สมองซีกขวา    ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์  คือ...สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี   

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา  ชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญาผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน  ได้แก่
ความสามารถด้านภาษา     เรียนรู้และเข้าใจคำพูดต่างๆได้เร็วเกินวัย              
- ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์   มีความถนัดเรื่องคณิตศาสตร์ เข้าใจเรื่องตัวเลขได้เร็ว
ความสามารถด้านดนตรี   ถนัดและเก่งดนตรี ชอบฟังเพลง  ร้องเพลง และจำเนื้อเพลงได้เร็ว           
- ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์   มีความสามารถในการเห็นภาพรวม
ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย   มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง  ชอบการวิ่งเล่น  ออกกำลังกาย เต้นรำ
ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์    ชอบบริการผู้อื่น  ช่างเอาอกเอาใจ ชอบช่วยเหลือเพื่อน
-  ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์  ชอบเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย สามารถเขียนบันทึกประจำวันได้ดี
ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา   ชอบเรียนรู้ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา   คิดไว  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดี
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
-ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
-ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
-ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
-ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
-ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง

ทฤษฎีโอตา (AUTA)
เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan) ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก  ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น
การพัฒนาปรีชาญาณ
การรู้จักและเข้าใจตนเอง
การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ  มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
- ความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
- ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
-ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์
- เทคนิค วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 3  เทคนิควิธี   การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์
การระดมสมอง
การคิดเชิงเปรียบเทียบ
การฝึกจินตนาการ
ขั้นตอนที่ 4  การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ  การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง
สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม

พัฒนาการทางศิลปะวงจรของการขีดๆเขียนๆ
เคลล็อก (Kellogg)  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
ขั้นที่ ขั้นขีดเขี่ย (placement  stage)  
-เด็กวัย 2 ขวบ
-ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
-ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
-ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape  stage)
-เด็กวัย 3 ขวบ
-การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
-เขียนวงกลมได้
-ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
-เด็กวัย 4 ขวบ
-ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
-วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
-วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)
-เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
-เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
-รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
-ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
-วาดสามเหลี่ยมได้

พัฒนาการด้านร่างกาย
กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
ด้านการตัด
อายุ 3-4 ปี  ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
อายุ 4-5 ปี  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้  
อายุ 5-6 ปี  ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
การขีดเขียน
อายุ 3-4 ปี  เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
อายุ 4-5 ปี  เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้  
อายุ 5-6 ปี  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ
อายุ 3-4 ปี     พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
อายุ 4-5 ปี     พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้  
อายุ 5-6 ปี     พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
การวาด
อายุ 3-4 ปี   วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
อายุ 4-5 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
อายุ 5-6 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน  มือ คอ  
skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะศิลปะสร้างสรรค์

Adoption (การนำไปใช้)
- นำความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีไปใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีสอนที่เข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจทำงานศิลปะมากทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

วันพฤหัสที่ 14 มกราคม 2559

Recent Post 1
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Thursday 14 Janury 2016


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
-อาจารย์บอกข้อตกลงในการเรียน
-ทบทวนความรู้เกี่ยวกับศิลปะปฐมวัย
ความหมายและความสำคัญ
ศิลปะ หมายถึง  งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษญ์สร้างสรรค์ขึ้นด้วย การประณีต วิจิตรบรรจง

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
1.เด็กชอบวาดรูป
2.เด็กมีความคิด จินตนาการ
3.เด็กใช้ถ่ายถอดความรู้สึกนึกคิด
4.เด็กต้องการสนับสนุนจากผู้ใหญ่

             หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ทำกิจกรรมวาดภาพระบายสี

ใบงานที่  1
คำสั่ง :  วาดภาพตนเองตามจินตนาการ


skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ทักษะศิลปะ
-ทักษะการการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
- นำความรู้ที่อาจารย์บอกไปใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีสอนที่สามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจ
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจฟังอาจารย์พูดอย่างตั้งใจ
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) นำความรู้ในวันนี้ไปใช้ในคาบต่อไป